เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

(ช) ธรรม 6 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สตตวิหารธรรม1 (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ) 6 ได้แก่
1. เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มี
สติสัมปชัญญะอยู่
2. ฟังเสียงทางหู ...
3. ดมกลิ่นทางจมูก ...
4. ลิ้มรสทางลิ้น ...
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
6. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่
นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 6 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อนุตตริยะ2 (ยอดเยี่ยม) 6 ได้แก่

1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 6 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อภิญญา 6 ได้แก่
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดง
ให้ปรากฏ หรือแสดงให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขา

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 328 หน้า 329 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 327 หน้า 328 ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/8/419-420

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :394 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่น
ดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดิน
บนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ เหมือนนกบิน
ไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
2. ภิกษุนั้นได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้ง
ที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
3. ภิกษุนั้นกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ จิต
มีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจาก
ราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่า
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศจากโมหะ
ก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่า
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็น
มหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิต
อื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิต
เป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
4. ภิกษุนั้น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติ
บ้าง 3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง
20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง
100 ชาติบ้าง 1,000 ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์
และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้วก็ไปเกิดในภพโน้น ในภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :395 }